ทฤษฎีและแนวคิดพืน้ ฐานเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ กระบวนการของนโยบายสาธารณะ ครอบคลุมขั้นตอนการกำหนดนโยบายสาธารณะ การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ และการประเมินผลนโยบายสาธารณะ บทบาทของตัวแสดงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ บริบทนโยบายสาธารณะที่เปลี่ยนจากยุคที่รัฐเป็นผู้เล่นหลักถึงยุคการบริหารปกครอง จริยธรรมในนโยบายสาธาณะ และการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาร่วมสมัยทางนโยบายสาธารณะ

แนวคิด พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของระบบสวัสดิการสังคมทั้งในระดับสากล และระบบสวัสดิการของประเทศไทย ทั้งสวัสดกิ ารที่จัดโดยหรือจัดขนึ้ จากความรว่ มมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคม องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และองค์การพัฒนาเอกชน ที่ตอบสนองต่อวิถีชีวิตของชุมชน ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์กระบวนการเชิงนโยบายและการดาเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนสวัสดิการชุมชน

แนวคิดและทฤษฎีทางการเมืองว่าด้วยประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นในฐานะที่เป็นแนวคิดพื้นฐานของการปกครองท้องถิ่น โดยมุ่งสร้างฐานความรคู้ วามเข้าใจในหลักการปกครองดูแลตนเองของประชาชนในท้องถิ่น หลักการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม หลักการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ และหลักการประชาธิปไตยทางตรงในระดับท้องถิ่น รวมทั้งศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่น

ความหมาย แนวคิด ทฤษฎี ขอบข่าย พัฒนาการการศึกษาและกระบวนทัศน์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ กระบวนการการบริหาร ความสัมพันธ์ของการเมืองและการบริหารกับนโยบายสาธารณะ การบริหารกับ สภาพแวดล้อม การจัดองค์การ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การคลังและงบประมาณ และระบบราชการ ตลอดจนการวิเคราะห์ประเด็นความท้าทายทาง รัฐประศาสนศาสตร์

แนวคิดเกี่ยวกับการรวมอำนาจ การกระจายอำนาจ และการปกครองท้องถิ่น โดยเน้นการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทย การศึกษาจะครอบคลุมถึงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน รูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประวัติและพัฒนาการ โครงสร้างภายใน อำนาจหน้าที่ ข้อบัญญัติท้องถิ่น การกำกับดูแล ปัญหาการปกครองท้องถิ่นไทย ตลอดจนแนวโน้มการปกครองท้องถิ่นไทยในอนาคต